เมนู

7. ภาวนาสูตร


[68] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่หมั่นเจริญภาวนา
แม้จะพึงเกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอจิตของเรา
พึงหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ก็จริง แต่จิตของภิกษุนั้น
ย่อมไม่หลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ข้อนั้นเพราะเหตุไร
จะพึงกล่าวได้ว่า เพราะไม่ได้เจริญ เพราะไม่ได้เจริญอะไร เพราะ
ไม่ได้เจริญสติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5
พละ 5 โพชฌงค์ 7 อริยมรรคประกอบด้วยองค์ เปรียบเหมือน
แม่ไก่มีไข่อยู่ 8 ฟอง 10 ฟอง หรือ 12 ฟอง ไข่เหล่านั้น แม่ไก่
กกไม่ดี ให้ความอบอุ่นไม่พอ ฟักไม่ได้ แม้ไก่นั้น แม้จะพึงเกิดความ
ปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอให้ลูกของเราพึงใช้ปลายเล็บเท้า
หรือจะงอยปากเจาะกะเปาะไข่ ฟักตัวออกมาโดยสวัสดี ก็จริง
แต่ลูกไก่เหล่านั้นไม่สามารถที่จะใช้ปลายเล็บเท้า หรือจะงอยปาก
เจาะกะเปาะไข่ ฟักตัวออกมาโดยสวัสดีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะแม่ไก่กกไม่ดี ให้ความอบอุ่นไม่พอ ฟักไม่ดี ฉะนั้น ก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุหมั่นเจริญภาวนา แม้จะไม่พึงเกิดความ
ปรารถนาอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอจิตของเราพึงหลุดพันจากอาสวะ
เพราะไม่ถือมั่น ก็จริง จิตของภิกษุนั้น ย่อมหลุดพันจากอาสวะ
เพราะไม่ถือมั่น ข้อนั้นเพราะเหตุไร พึงกล่าวได้ว่า เพราะเจริญ
เพราะเจริญอะไร เพราะเจริญสติปัฏฐาน 4 ฯลฯ อริยมรรค
ประกอบด้วยองค์ 8 เปรียบเหมือนแม่ไก่มีไข่อยู่ 8 ฟอง 10 ฟอง

หรือ 12 ฟอง ไข่เหล่านั้นแม่ไก่กกดี ให้ความอบอุ่นเพียงพอ ฟักดี
แม้แม่ไก่นั้นจะไม่พึงปรารถนาอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอให้ลูกของเรา
พึงใช้ปลายเล็บเท้าหรือจะงอยปากเจาะกะเปาะไข่ ฟักตัวออกมา
โดยสวัสดี ก็จริง แต่ลูกไก่เหล่านั้นก็สามารถใช้เท้าหรือจะงอยปาก
เจาะกะเปาะไข่ ฟักตัวออกมาโดยสวัสดีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะไข่เหล่านั้นแม่ไก่กกดี ให้ความอบอุ่นเพียงพอ ฟักดี ฉะนั้น.
เปรียบเหมือนรอยนิ้วมือ รอยนิ้วหัวแม่มือที่ด้ามมีด ย่อม
ปรากฏแก่นายช่างไม้หรือลูกมือนายช่างไม้ แต่เขาไม่รู้อย่างนี้ว่า
วันนี้ด้ามมีดของเราสึกไปเท่านี้ เมื่อวานสึกไปเท่านี้ หรือเมื่อ
วานซืนสึกไปเท่านี้ ที่จริง เมื่อด้ามมีดสึกไป เขาก็รู้ว่าสึกไป
นั่นเทียว ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุหมั่นเจริญภาวนา
อยู่ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้จะไม่รู้อย่างนี้ว่า วันนี้ อาสวะของเรา
สิ้นไปเท่านี้ เมื่อวานซืนไปเท่านี้ หรือเมื่อวานซืนสิ้นไปเท่านี้
แต่ที่จริง เมื่ออาสวะสิ้นไปภิกษุนั้นก็รู้ว่าสิ้นไปนั่นเทียว.
เปรียบเหมือนเรือเดินสมุทรที่เขาผูกหวาย ขันชะเนาะ
แล้วแล่นไปในน้ำตลอด 6 เดือน ถึงฤดูหนาว เข็นขึ้นบก เครื่องผูก
ประจำเรือตากลมและแดดไว้ เครื่องผูกเหล่านั้นถูกฝนชะ ย่อม
ชำรุดเสียหาย เป็นของเปื่อยไปโดยไม่ยาก ฉันใด ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เมื่อภิกษุหมั่นเจริญภาวนาอยู่ สังโยชน์ย่อมระงับไป
โดยไม่ยาก ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล.
จบ ภาวนาสูตรที่ 7

อรรถกถาภาวนาสูตรที่ 7


ภาวนาสูตรที่ 7

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อนนุยุตฺตสฺส ความว่า เมื่อภิกษุไม่ประกอบเนือง ๆ
และไม่ประกอบทั่วแล้วอยู่. คำว่า เสยฺยถาปิ ภิกฺขเว กุกฺกุฏิยา
อณฺฑานิ
ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอุปมานี้ ไว้เป็นสอง
ประการ คือ ธรรมฝ่ายดำและธรรมฝ่ายขาว (อกุศลและกุศล)
บรรดาอุปมา 2 อย่างนั้น อุปมาแห่งธรรมฝ่ายดำ ไม่ทำ
ประโยชนให้สำเร็จ ธรรมฝ่ายขาวทำประโยชน์ให้สำเร็จ เพราะ
เหตุนั้น บัณฑิตพึงทราบประโยชน์ด้วยอุปมาแห่งธรรมฝ่ายขาว
นั่นแล. ศัพท์ว่า เสยฺยถา เป็นนิบาตใช้ในอรรถแห่งอุปมา. ศัพท์ว่า
อปิ เป็นนิบาตใช้ในอรรถแห่งสัมภาวนะ ยกย่อง พระผู้มีพระภาค-
เจ้าทรงแสดงว่า เสยฺยาถา นาม ภิกฺขเว ดังนี้.
ก็ในพระบาลีนี้ว่า กุกฺกุฏิยา อณฺฑานิ อฏฺฐวา ทสวา ทฺวาทส วา
มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. แม่ไก่จะมีไข่ขาดหรือเกินโดยประการที่ตรัส
ไว้แล้วก็จริง ถึงกระนั้น พระองค์ก็ตรัสคำนี้ไว้ ก็เพื่อให้ถ้อยคำ
และสลวย. บทว่า ตานสฺสุ ตัดบทเป็น ตานิ อสฺสุ ความว่า ฟองไข่
เหล่านั้นพึงมี. บทว่า กุกฺกุฏิยา สมฺมา อธิสยิตานิ ความว่า เมื่อ
นางไก่เป็นแม่นั้น เหยียดปีกนอนกกบนฟองไข่เหล่านั้น ชื่อว่ากก
แล้วโดยชอบ. บทว่า สมฺมา ปริสพิตานิ ความว่าเมื่อแม่ไก่มีระดู
ตามกำหนดเวลา เป็นอันชื่อว่าให้สุกแล้วโดยรอบด้วยดี อธิบายว่า